วิวัฒนาการทรอมโบน (The Development of The Trombone)

วิวัฒนาการของทรอมโบน

วิวัฒนาการทรอมโบน

โดยปกติแล้ว เสียงที่ได้จากทรอมโบนชนิดสไลด์ เกิดจากการปรับตำแหน่งท่อสไลด์และรูปปากเท่านั้น ด้วยรูปแบบที่เรียบง่ายนี้ กลุ่มเครื่องทรอมโบนในวงออร์เคสตราจึงประกอบด้วยอัลโตทรอมโบนคีย์อีแฟลต เทเนอร์ทรอมโบนคีย์บีแฟลต และเบสทรอมโบนคีย์เอฟอย่างละเครื่อง

ในปี ค.ศ. 1839 คริสเตียน ฟรีดริช แซตเลอร์ (Christian Friedrich Sattler) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมัน สังเกตว่าหากเพิ่มท่อไว้ภายในส่วนแตรของเทเนอร์ทรอมโบนคีย์ Bb ก็จะทำให้ได้ช่วงเสียงที่เกิดจากเบสทรอมโบนคีย์ F เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการรวมเครื่องดนตรีสองเครื่องเป็นเครื่องเดียวที่ใช้งานได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ท่อที่เติมเข้าไปนี้ใช้งานได้โดยมีทริกเกอร์เป็นตัวควบคุม ซึ่งนอกจากจะขยายช่วงเสียงของทรอมโบนแล้ว ยังเพิ่มทางเลือกการวางตำแหน่งท่อสไลด์ เพื่อลดความยุ่งยากเมื่อต้องวางท่อสไลด์ในตำแหน่งที่ 6 และ 7 ตำแหน่งสไลด์ที่อยู่ต่ำกว่า ช่องว่างที่ 2 (เมื่อใช้มีทริกเกอร์)

และในบางตำแหน่งที่อยู่สูงกว่านั้น ลักษณะนี้ยังคงเป็นรูปแบบพื้นฐานของทรอมโบนBb/F หรือที่เรียกกันบ่อยๆ F-Attachment หรือทริกเกอร์ทรอมโบน

ปัจจุบันทรอมโบนพบได้ตามวงเครื่องลม

  • วงคอนเสิร์ตแบนด์ (Concert bands or Wind Ensembles)
  • วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestras)
  • วงมาร์ชชิ่งแบนด์ (Marching Bands)
  • วงโยธวาทิต (Military Bands)
  • วงแตรวง (Brass Band)
  • วงบราสควินเต็ต (Brass Quintet)
  • วงบราสไควเออร์ (Brass Choir)
  • วงดนตรีแจ๊ส (Jazz Ensembles)
  • และอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารูปแบบของทรอมโบนจะมีลักษณะคล้ายเดิมเมื่อคิดค้นขึ้น แต่กระนั้น โครงสร้างของตัวเครื่องก็มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในช่วงที่งานช่างเจริญก้าวหน้าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมถึงการใช้วัสดุในการผลิตที่ต่างจากเดิม ปากเป่าที่มีหลากหลาย ขนาดท่อกับปากแตรที่ไม่เหมือนเดิม และชนิดของวาล์วทริกเกอร์แบบใหม่ (Trigger Valve)

แปลจากหนังสือ A Trombone Experience Instructional Method Book & DVD By Stephen Burdick

ผู้แปล อังค์วรา ธนสารโสพิณ

 

The Development of The Trombone

Traditionally, the tone produced by a slide trombone was accomplished strictly through adjustments in slide position and embouchure. Due to this simplicity of design, a typical orchestral trombone section consisted of an alto in E flay, a tenor in B flat, and a bass in F.

In 1839, Christian Friedrich Sattler, a German instrument maker, recognized that tubing could be added within the bell section of a Bb tenor trombone to achieve the range produced by an F bass trombone, essentially combining the two into one more functional and efficient instrument.

The added tubing was actuated by a thumb operated trigger. In addition to increasing the range of the trombone, it also provided alternative slide positions to ease the technical burden of 6th and 7th slide positions below second space C and in certain situations above.

This continues to be the basic design of the Bb/F trombone or more commonly referred to as the F-attachment or trigger trombone.

Today, the trombone can be found in wind ensembles, concert bands, symphony orchestras, marching bands, military bands, brass bands, brass quintets, brass choirs, jazz ensembles, and much more.

While the instrument design ha remained similar since its invention, numerous changes in construction have occurred during the technical manufacturing materials, mouthpiece variations, differing bore and bell dimensions, and new trigger valve types.