Trombone มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Tromba แปลว่า ทรัมเปตใหญ่ ซึ่งก่อนจะเป็นทรอมโบน มันได้ถือกำเนิดในยุคเรเนอซองส์ เรียกว่า “Sackbut” ส่วนใหญ่เอาไว้ใช้เล่นต้อนรับขบวนของบุคคลสำคัญ กิจกรรมเต้นรำตามลานคนเมือง รวมไปถึงเพลงในโบสถ
Claudio Monteverdi
คีตกวีคนสำคัญที่เขียนเพลงไว้ให้เจ้าแซกบัตคือ Monteverdi ซึ่งๆไปมาๆ จู่ๆมันก็เลิกฮิตไปในยุคบาร็อค ซึ่งทั้ง Bach, Handel มีแต่งไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จนเข้าสู่ยุคโรแมนติก Beethoven ได้เครดิตว่าเป็นผู้นำ “ทรอมโบน” มาใช้ในวงออร์เคสตร้าอย่างเป็นทางการ (ก่อนนี้มีโมสาร์ทนิดหน่อย) เริ่มจากซิมโฟนีหมายเลข 5, หมายเลข 6, และหมายเลข 9 ซึ่งพอเข้ายุคโรแมนติก คีตกวีแทบทุกคนก็ใช้ทรอมโบนประจำไว้ในวงไปเลย
ทรอมโบนมีลักษณะเดียวกับเครื่องบราสอื่นๆคือ ปากเป่าที่เมาท์พีซ เพื่อขยายเสียงไปที่ลำโพง โดยใช้ปากปรับเสียงเป็นหลัก แต่ทรอมโบนมีการชักท่อ เพื่อเลื่อนหามุมกระทบเสียงแทนการใช้นิ้วกดวาล์วแบบทรัมเปตหรือฮอร์น จึงจะเห็นทรอมโบนเวลาเล่นต้องชักเข้าออกตลอด เสียงทรอมโบนจะค่อนข้างต่ำ เป็น Low brass ความคมชัดไม่เท่าทรัมเปต แต่พลังพอๆกัน
วงออร์เคสตร้าปกติจะใช้ทรอมโบนเล่นแนวเทเนอร์ (เสียงกลางต่ำ) 2 ตัว อีกตัวนึงเล่นเบสทรอมโบน ทรอมโบนเป็นเครื่องบราสที่เรียกได้ว่าเป็น “คู่หู” กับทรัมเปต คือเวลาเล่น มักจะมาด้วยกัน โดยจะเล่นแนว เทเนอร์ และ เบส ประสานเพราะทรัมเปตเล่นเสียงสูงอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เวลาคิวของกลุ่มเครื่องบราสเข้ามา เสียงฮอร์นจะดังมาแบบมีชาติตระกูล ส่วนทรัมเปตทรอมโบนถ้ามาด้วยกันนี่ยังกับพร้อมบวกชาวบ้านเค้า! (คือเสียดังมาก)
วาล์วทรอมโบน
ต่อมา วาล์วทรอมโบน (ทรอมโบนมีลูกสูบกดแบบทรัมเปต) ได้เข้ามาเติมช่วงศตวรรษที่ 19 คีตกวีอย่าง Verdi, Puccini, Smetana, Dvořák ได้เขียนแนวให้วาล์วทรอมโบนไว้ด้วย ในช่วงโรแมนติกนี้เมืองไลป์ซิกเป็นศูนย์กลางของทรอมโบน นักทรอมโบนเก่งๆในเมืองนี้เยอะมาก และแต่งเพลงสำหรับทรอมโบนไว้เพียบ ซึ่งมีผลให้ทรอมโบนนิยมมากๆในเยอรมันและออสเตรีย ทรอมโบนได้รับความนิยมในยุโรปเรื่อยมาจนมาสู่แผ่นดินอเมริกา ทั้งวงทหาร วงแจ๊ส ไปจนถึงบิ๊กแบนด์ ในฝั่งหมู่เกาะแคริบเบียนก็มีบ้าง ซึ่งสุดท้าย ทรอมโบนก็ได้รับความนิยมพอสมควรที่จะโซโล่กับวงแจ๊สแบบทรัมเปต และยังคงเป็นคู่หูกัน
Rossini – William Tell
Wagner – Lohengrin
Ravel – Bolero
Rimsky-Korsakov – Russian Easter Overture
นักทรอมโบนดังๆถ้าในสายคลาสสิคก็
Christian Lindberg – เทพแห่งทรอมโบน ทั้งเล่น แต่งเพลง และ คอนดักเตอร์
Joseph Alessi – Principal New York Philharmonic มาอย่างยาวนาน
Ralph Sauer – Principal L.A. Philharmonic
Jörgen van Rijen – ตัวเทพของวง Royal Concertgebouw Orchestra
ส่วนสายแจ๊สนี่มีเยอะอยู่
Tommy Dorsey – เจ้าพ่อทรอมโบนบิ๊กแบนด์คนแรกๆ
JJ Johnson – นี่ก็ลากยาวมาตั้งแต่ยุคสวิงจนฮาร์ดบ็อพเลย
Curtis Fuller – เหมาเรียบยุคฮาร์ดบ็อพ
Urbie green – นี่ก็สายบิ๊กแบนด์
Carl Fontana – สายบิ๊กแบนด์เหมือนกัน
Robin Eubanks – คนนี้น่าจะดังสุดของตอนนี้ แจ๊สสายลึกและโหด
Nils Landgren – ตัวเทพในสาย funk, jazz, rock, soul
บทความนี้ จะไม่ถูกต้องเลยถ้าขาดคำแนะนำดีๆไป ต้องขอขอบคุณสองสุดยอดมือทรอมโบนแห่งยุค อ.ชิ แห่งวง Stone horn และ อ.รุ่ง จากม.ราชภัฎจันทรเกษม และ วง Kitasewi Jazz Collective ด้วยนะครับ
ตัวอย่างผลงานที่น่าสนใจ ลองฟังกันดูเลย !
Mozart – Requiem
Rossini – William Tell